วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำพ่อสอน




 "คำพ่อสอน-ความสุขในการดำเนินชีวิต"
 การประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ในช่วงเวลาอันยาวนานกว่า ๖ ทศวรรษที่ผ่านมา ที่ผู้รวบรวมเห็นว่าเป็นไปเพื่อการสร้างความสุขในการดำเนินชีวิต พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเหล่านี้มีความลึกซึ้งกว้างขวางเกี่ยวข้องในทุกปริมณฑลของมนุษย์ คือ ทั้ง กาย-จิต-สังคม-สิ่งแวดล้อม

 ความสุขด้านกาย

 . . .ชีวิตของแต่ละคนจะต้องประกอบด้วยสิ่งใดสำหรับให้มีชีวิตอยู่ได้ ถ้าเราคิดสักหน่อยว่าเรามีร่างกายที่จะต้องอุ้มชูตนเอง คือหมายความว่าทุกวันนี้เราจะต้องหาอาหารมาเลี้ยง ถ้าไม่มีอาหารเลี้ยงร่างกายนี้เป็นเวลาหนึ่ง ก็ทำให้ ร่างกายซูบผอมและอ่อนเพลียลงไป ไม่มีทางที่จะทำงานทำการใดๆ หรือแม้จะทำงานที่ไม่ใช่เป็นงานคือเล่นสนุกอะไรก็ตาม ก็ไม่ได้ทั้งนั้น คิดอะไรก็ไม่ออก ดำเนินชีวิตไม่ได้ ถ้าไม่มีอาหาร ถ้ามองดูในแง่นี้เพียงอาหารที่มาใส่ท้อง ก็เป็น กิจการที่กว้างขวางอย่างมากมาย ทีนี้พูดกันว่าคนเราต้องทำมาหากิน ดูเป็นของ ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าถ้าไม่ทำมาหากินก็ไม่มีชีวิตอยู่ได้ หรือมีชีวิตก็แร้นแค้น และทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีอาหารใจอีก ถ้าคนเราไม่มีอาหารใจไม่ขวนขวายหาความรู้ จะไม่สบายใจ และจะไม่เป็นคนที่เจริญ ฉะนั้น ทุกคนที่ ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ และมีชีวิตอยู่อย่างดี ก็ต้องอุ้มชูให้อาหารแก่ตาและหาทาง ที่จะมีอาหารของใจด้วย. . .

พระราชดำรัส
พระราชทานเนื่องในการฉลองครบรอบ ๕๐ ปี ของสโมสรโรตารี่ในประเทศไทย
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันจันทร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๓


  •  คนเรานั้นต้องรู้จักทำมาหากินเลี้ยงชีพของตน เลี้ยงร่างกายของตนเพื่อที่จะได้มีกำลังในการทำงานต่างๆต่อไปได้และยังมีอาหารใจ ถ้าคนเราไม่มีอาหารใจไม่ขวนขวายหาความรู้ ก็จะเป็นผู้ไม่เจริญคนเราจึงต้องมีทั้งอาหารตาและอาหารใจควบคู่กันไปด้วย

   . . .ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่ว และคงทนยั่งยืน. ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้ แต่จะค่อยๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร. ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกายให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน. มิฉะนั้น จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขาจะใช้สติปัญญาความสามารถของเขาทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไปพราะร่างกายอันกลับกลายอ่อนแอลงนั้น จะไม่อำนวยโอกาสให้ทำ การงานโดยมีประสิทธิภาพได้. . .
 
ความสุขด้านจิต

      . . .สุขภาพจิตและสุขภาพกายนั้น พูดได้ว่าสุขภาพจิตสำคัญกว่าสุขภาพกายด้วยซ้ำ เพราะว่าคนไหนที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแต่จิตใจฟั่นเฟือน ไม่ได้เรื่องนั้น ถ้าทำอะไรก็จะยุ่งกันได้ กายที่แข็งแรงนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคมอย่างใด ส่วนคนที่สุขภาพกายไม่สู้จะแข็งแรงแต่สุขภาพจิตดี หมายความว่าจิตใจดี รู้จักจิตใจของตัว และรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมาก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มาก ในที่สุดสุขภาพจิต ที่ดีก็อาจจะพามาซึ่งสุขภาพทางกายได้ หรือถ้าสุขภาพกายไม่ดีนักก็ไม่ต้องถือว่า เป็นของสำคัญ. . .


พระราชดำรัส
ในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิต
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
วันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ 

  • จิตใจของคนเรานั้นมีความสำคัญ ถ้ามีจิตใจดี รู้จักจิตใจของตนเอง และรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตนเองมาก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มากเช่นกัน

   . . .ถ้าเรามาสัมมนาถึงวิธีการที่จะศึกษาสุขภาพจิต ก็ควรจะศึกษาว่า ทำอย่างไรจึงให้ตนเองมีสุขภาพจิตที่ดี เป็นคนที่มีเมตตา มีความละมุนละไม มีความคิดที่รอบคอบ ที่ไม่มีโทสะ ไม่มีความรู้สึกที่จะหาประโยชน์มากเกินไป อันนี้ก็จะทำให้ผู้ที่มาสัมมนามีสุขภาพจิตที่ดี ถ้าใครมีสุขภาพจิตดีแล้ว ไม่ต้องไปสอนใคร แสดงด้วยตนเองก็ได้ประโยชน์มากแล้ว ถ้าหาวิธีที่จะสอนคนอื่นในเรื่องสุขภาพจิตก็ออกจะลำบากเพราะว่าสุขภาพจิตมันอยู่ที่จิตของตัว ฉะนั้นที่จะมีข้อสังเกตในโอกาสนี้ก็คือขอให้ท่านทั้งหลายตั้งสุขภาพจิตของท่านเองให้ดี แล้วก็จะสำเร็จประโยชน์ทุกอย่าง. . .


พระราชดำรัส
ในโอกาสที่คณะจิตแพทย์ นักวิชาการสุขภาพจิต
อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
วันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐

  • การจะทำงานใดๆก็ควรทำจิตใจของตนเองให้ดีเสียก่อน แล้วการทำงานต่างๆก็จะประสบผลสำเร็จได้ทุกประการ 
ความสุขของการอยู่ร่วมกัน

      . . .ท่านทั้งหลายควรจักได้เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม ที่จะปฏิบัติงานประสานกับบุคคลอื่นฝ่ายอื่นอย่างขะมักเขม้นและฉลาดเหมาะสม. ในการนี้ ท่าน จะต้องทำความคิดและจิตใจให้เปิดกว้าง แต่หนักแน่น มีเหตุผล มีวิจารณญาณ. พร้อมกันนั้น ก็ต้องมีความจริงใจ เห็นใจ และเมตตาปรองดองกัน โดยถือประโยชน์ส่วนรวมร่วมกันเป็นวัตถุประสงค์เอก ที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง จะต้องพยายามขจัดความดื้อรั้น ถือตัว ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนน้อยออกให้ได้ ไม่ปล่อยให้เข้ามาครอบงำทำลายความคิดจิตใจที่ดีงามของตน  แล้วท่านจะสามารถปฏิบัติการงานทุกอย่างได้ด้วยความราบรื่น เบิกบานใจ อย่างมี ประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จตามที่ปรารภปรารถนาทุกสิ่งในที่สุด. . .

 
พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๙
 
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นต้องเปิดใจให้กว้างหนักแน่นมีเหตุผลมีวิจารณญาณ ความจริงใจ ลดความเห็นแก่ตัวลงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมให้มากก็จะสามารถปฏิบัติงานร่วามกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ 
. . .ถ้าเราแผ่เมตตาให้คนอื่นหรือมีปรารถนาดีต่อผู้อื่น เข้าใจว่าคนนั้น หรือบุคคลอื่นจะรู้สึก ต้องรู้สึกว่ามีปรารถนาดีต่อผู้อื่นต่อบุคคลนั้นขึ้นในใจ ของเราก็ต้องรู้สึกว่ามีคนอื่นมาปรารถนาดีต่อเรา ฉะนั้นเป็นการยืนยันว่า การปรารถนาดีต่อผู้อื่นทำให้ผู้อื่นปรารถนาดีต่อเรา และปรารถนาดีต่อเรา อันนี้เองที่เป็นความสุข. . .


พระราชดำรัส
พระราชทานแก่ผู้นำลูกเสือชาวบ้านกรุงเทพมหานคร
ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์
วันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑

  • การที่เรามีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นทำให้ผู้อื่นปรารถนาดีต่อเราเช่นกัน และจะทำให้เรามีความสุขขึ้นในใจและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข


ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.kamphorsorn.org

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมทางการศึกษา

ขั้นตอนการสร้างความรู้จากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. กำหนดประเด็น/หัวเรื่อง
เรื่อง : นวัตกรรมทางการศึกษา

                2. เขียนวัตถุประสงค์
v เพื่อศึกษาความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
v เพื่อศึกษาประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา

                3. กำหนดขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
v ศึกษาประเด็นต่างๆดังนี้
-          ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
                 -          ประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมทางการศึกษา

                4. กำหนดแหล่งและเกณฑ์การคัดเลือกข้อมูล
v หนังสือ (จากหลายเล่ม มีความถี่ของข้อมูลในทางเดียวกันบ่อยครั้ง มีความน่าเชื่อถือ เป็นเหตุเป็นผล มีการรับรองจากสถาบันของรัฐ มีความชัดเจนของเนื้อหา เนื้อหาครอบคลุม ผู้เขียนมีความรู้ความชำนาญในเรื่องดังกล่าวฯลฯ)

                5. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
v คอมพิวเตอร์ สมุดบันทึก
               
6. วางแผนการเก็บข้อมูล

ลำดับที่
กิจกรรม
วันที่ 1
วันที่
2
วันที่ 3
วันที่ 4
วันที่ 5
วันที่ 6
วันที่ 7
1
รวบรวมข้อมูล
     /
    /





2
ประเมิน-คัดเลือกข้อมูล
   /
   /





3
จัดหมวดหมู่

   /
     /




4
วิเคราะห์สรุป


    /
   /



5
สังเคราะห์ผลการศึกษา


    /
    /
     
    

6
ข้อเสนอแนะ




    /
     /

7
ปัญหา-อุปสรรค




    /
    /

8
เขียนรายงาน





   /
     /


                7. วิเคราะห์ข้อมูล
v ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
o   นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมอาจได้มาจากการค้นพบวิธีใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาสม โดยได้มีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมบูรณ์ สงวนญาติ: 2534)

o   นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ และอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น (กิดานันท์ มลิทอง : 2540)

o   นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง การนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆมาใช้กับการศึกษา (วรวิทย์ นิเทศศิลป์: 2551)

o   นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง แนวความคิดหรือวิธีการหรือเครื่องมือ ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่ยังไม่เคยนำมาใช้ในวงการการศึกษามาก่อน แต่ได้ถูกนำมาทดลองใช้เพื่อดูผลว่าได้ผลดีเพียงใด ถ้าได้ผลดีก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้รู้จักและนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป  (คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา: 2539)

o   นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา (สุคนธ์ สินธพานนท์: 2553)


o   นวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (บุญเกื้อ ควรหาเวช: 2543)

o   นวัตกรรมการศึกษา คือ ความคิดและการลงมือทำ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่เพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา เป็นวิธีการใหม่ที่เกิดขึ้นจากปัญหาที่ประสบ (นคร ละลอกน้ำ: สัมภาษณ์)




v ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
o   พิชิต   ฤทธิ์จรูญ. (2550)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
    1 .  นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
     นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน  หรือทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น  นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ 
  •              ชุดการเรียน/ ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน
   •              แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
     •              บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม
              เกม
      •              การ์ตูน
      •              นิทาน
              เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน
๚ล๚
    2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน
       นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆนักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้   ทักษะ  กระบวนการ  และเจตคติ  ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก  ได้แก่
              วิธีการสอนคิด
                                              •              วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
    •              CIPPA  MODEL
                  •              วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
                 •              วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
              •              วิธีสอนแบบบูรณาการ
     •              วิธีสอนโครงงาน
                   •              วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
              Constructivism
๚ล๚
          นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมประเภทเสริมสร้างคุณลักษณะของผู้เรียน   ด้านจิตพิสัยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงศึกษาธิการ สรุปว่าการพัฒนาจิตพิสัยในการเรียนการสอนที่จำเป็น  ได้แก่    ความมีวินัย   ความซื่อสัตย์   ความรับผิดชอบ   ความมีน้ำใจ   การบริโภคด้วยปัญญาในวิถีไทย

o   วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551) ได้กล่าวว่านวัตกรรมทางการศึกษาที่ควรรู้ ได้แก่
     -          การสอนแบบใช้ชุดการสอน
     -          การสอนแบบศูนย์การเรียน
-          การสอนแบบไม่แบ่งชั้น
                          -          การสอนแบบจัดโรงเรียนในโรงเรียน
-          โทรทัศน์เพื่อการศึกษา

o   คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา. (2539) ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทยไว้ดังนี้
          -                   บทเรียนสำเร็จรูป
-                   ชุดการสอน
   -                   ศูนย์การเรียน
          -                   การสอนเป็นคณะ
                -                   การสอนแบบจุลภาค
                          -                   คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
          -                   การใช้สื่อประสม
                      -                   การศึกษาเป็นรายบุคคล

o   สมบูรณ์ สงวนญาติ. (2534) ได้ยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการเรียนการสอนที่ใช้ในวงการศึกษา พอสังเขป ดังนี้
                -                   การสอนแบบโปรแกรม
                       -                   การสอนแบบศูนย์การเรียน
                                 -                   การสอนแบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
      -                   การสอนเป็นคณะ
           -                   การสอนแบบจุลภาค
                     -                   การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
                                            -                   โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน

o   กิดานันท์ มลิทอง. (2540)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมในลักษณะ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการที่กำลังเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในวงการศึกษา ดังนี้
 -         สื่อประสม
    -          สื่อหลายมิติ
                         -         แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ
-          ซีดี-รอม
                     -          ความเป็นจริงเสมือน
       -          อินเทอร์เน็ต


                        8. สังเคราะห์ข้อมูล
v ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ๆซึ่งอาจจะเป็น ความคิด เทคนิค วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนำสิ่งเก่ามาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

v ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาสามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้
    1 .  นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์
     นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างชัดเจนได้ง่ายยิ่งขึ้น    นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ 
·       ชุดการเรียน/ ชุดการสอน/ชุดการเรียนการสอน
·       แบบฝึกทักษะ/ชุดการฝึก/ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้
·       บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม/บทเรียนโปรแกรม
·       เกม
   ·       การ์ตูน
  ·       นิทาน
·       เอกสารประกอบการเรียนรู้/เอกสารประกอบการเรียนการสอน/เอกสารประกอบการสอน
   ·       สื่อประสม
    ·       สื่อหลายมิติ
๚ล๚
    2. นวัตกรรมประเภทแนวคิด/รูปแบบ/เทคนิค/วิธีการสอน
       นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านความรู้   ทักษะ  กระบวนการ  เจตคติ  คุณธรรมจริยธรรมเป็นต้น ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก  ได้แก่
·       วิธีการสอนคิด
                            ·       วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
  ·       CIPPA  MODEL
           ·       วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
          ·       วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี
        ·       วิธีสอนแบบบูรณาการ
   ·       วิธีสอนโครงงาน
           ·       วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม
·       Constructivism
             ·       การสอนแบบศูนย์การเรียน
                     ·       การสอนแบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
     ·       การสอนเป็นคณะ
        ·       การสอนแบบจุลภาค
               ·       การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
                            ·       โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน
๚ล๚

               

9. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากเรื่องที่ศึกษา
                                - ในการเลือกใช้นวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนควรพิจารณาความเหมาะสมกับ วัย ระดับการศึกษา ความพร้อมของผู้เรียน เนื้อหา ระยะเวลา เป็นต้น

                10. ปัญหา อุปสรรคของการทำงานชิ้นนี้
                                - ระยะเวลาในการศึกษาไม่เพียงพอ

                11. รวบรวม/เขียนรายงานสรุปเพื่อเผยแพร่
                                -  ทำเป็นรูปเล่มรายงานและ PowerPoint เพื่อช่วยในการนำเสนอ